Cost of living in Tokyo | Japanese Language School | Akamonkai




HOME > ชีวิตในโรงเรียน > ข้อมูลที่อยู่อาศัย > ข้อมูลทั่วไปในชีวิตประจำวัน

ข้อมูลทั่วไปในชีวิตประจำวัน

สกุลเงิน

Yen

สกุลเงินของญี่ปุ่นคือเยน(円 ¥)
ธนบัตรมี 4 ชนิด ได้แก่ ชนิด 1 หมื่นเยน, ชนิด 5 พันเยน, ชนิด 2 พันเยน, และชนิด 1 พันเยน เหรียญกษาปณ์มี 6 ชนิด ได้แก่ ชนิด 500 เยน, ชนิด 100 เยน, ชนิด 50 เยน, ชนิด 10 เยน, ชนิด 5 เยน, และชนิด 1 เยน
โดยทั่วไปแล้วการชำระเงินในญี่ปุ่นมักกระทำโดยใช้เงินสด แต่ร้านค้าจำนวนมากก็รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต

สภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิในโตเกียว

โตเกียวมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยเป็นดังแสดงด้านล่าง

 

ค่าครองชีพ

ภาษีมูลค่าเพิ่มของญี่ปุ่นถูกปรับเป็น 8% ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2014 เป็นต้นมา ตารางด้านล่างนี้แสดงราคาของของใช้จำเป็นหลัก ๆ ในชีวิตประจำวัน

สินค้าหน่วยราคาเฉลี่ย
ข้าว (ข้าวผสม) 5 กิโลกรัม 2,388เยน
ขนมปังแผ่น 1 แถว 150เยน
นมวัว 1 ลิตร 221เยน
เนยสด 200กรัม 430เยน
ไข่ไก่ 1แพ็ค(10ฟอง) 245เยน
ส้มเกลี้ยง 1 กิโลกรัม 472เยน
มันฝรั่ง  1 กิโลกรัม 388เยน
ข้าวกล่อง 1 กล่อง 582เยน
แซนด์วิช 100 กรัม 184เยน
โคล่า 500 มิลลิลิตร 96เยน
กระดาษชำระ 1 แพ็ค(12 ม้วน) 281เยน
แปรงสีฟัน 1ด้าม 159เยน

ค่ารับหนังสือพิมพ์

เดือนละ 3343เยน
ค่าเข้าชมภาพยนตร์  1 รอบ

1800 เยน

(1500 เยน  ราคานักเรียนนักศึกษา)

สำรวจจากในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017

วันหยุดนักขัตฤกษ์

ในญี่ปุ่น หลัก ๆ แล้วโรงเรียนและหน่วยงานราชการจะหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็เช่นกัน แต่สถานบริการทางการแพทย์นั้นมีเวลาทำการและวันหยุดที่แตกต่างกันออกไป ควรตรวจสอบวันและเวลาให้บริการของสถานบริการทางการแพทย์ได้จากโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดไว้เผื่อกรณีของอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

วันหยุดนักขัตฤกษ์วัน
ปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม
วันบรรลุนิติภาวะ วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม
วันที่ระลึกการก่อตั้งประเทศ 11 กุมภาพันธ์
วันวสันตวิษุวัต รอบ 20 มีนาคม
วันโชวะ 29 เมษายน
วันรัฐธรรมนูญ 3 พฤษภาคม
วันสีเขียว (วันธรรมชาติ) 4 พฤษภาคม
วันเด็ก 5 พฤษภาคม
วันทะเล วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม
วันภูเขา 11 สิงหาคม
วันผู้สูงอายุ วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนกันยายน
วันศารทวิษุวัต รอบ 23 กันยายน
วันกีฬา วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม
วันวัฒนธรรม 3 พฤศจิกายน
วันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน 23 พฤศจิกายน
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระจักรพรรดิ 23 ธันวาคม

การเดินทางด้วยขนส่งมวลชน

โตเกียวมีขนส่งมวลชนรถไฟและรถโดยสารประจำทางที่พัฒนาการสูงมาก วิ่งรับส่งผู้คนตามเวลาที่กำหนดตั้งแต่เช้าตรู่ถึงช่วงดึก


PASMO/SUICA
PASMO และ SUICA เป็นชื่อของบัตรโดยสารขนส่งมวลชน และบัตรเติมเงินอิเล็กทรอนิคส์ ซื้อได้ที่เคาน์เตอร์ขายตั๋วของ JR หรือตู้ขายตั๋วอัตโนมัติต่าง ๆ Pasmo และ Suica สามารถใช้ซื้อตั๋วช่วงเวลาได้ด้วย

การซื้อตั๋วช่วงเวลาด้วยส่วนลดนักเรียนนักศึกษา

อะคะมงไคมีสถานะเป็นนิติบุคคล จึงทำให้นักเรียนที่ถือวีซ่านักเรียนต่างชาติซื้อตั๋วช่วงเวลาด้วยส่วนลดนักเรียนนักศึกษาได้ ระยะทางที่ใช้ส่วนลดได้คือตั้งแต่สถานีที่ใกล้บ้านนักเรียนที่สุดถึงสถานีใกล้โรงเรียน (นิปโปะริ, นิชินิปโปะริ, มิคะวะชิมะ)

จักรยาน

จักรยานเป็นวิธีเดินทางจากหอพักของโรงเรียนที่สะดวกที่สุด นักเรียนจำนวนมากซื้อจักรยานทันทีที่เข้าประเทศ เวลาซื้อจักรยานต้องลงทะเบียนเพื่อป้องกันอาชญากรรมด้วย (ค่าธรรมเนียม 500 เยน)
ไม่ควรขี่จักรยานที่ถูกวางทิ้งไว้ หรือจักรยานที่ชื่อเจ้าของไม่ตรงกับชื่อผู้ขี่โดยเด็ดขาด กรณีที่รับจักรยานต่อจากเพื่อน ต้องนำจักรยานและใบเสร็จรับเงินไปที่ร้านขายจักรยานเพื่อทำเรื่องเปลี่ยนชื่อเจ้าของก่อน

ค่าสาธารณูปโภค

นักเรียนที่ไม่ได้พักในหอพักของโรงเรียนต้องจ่ายค่าสาธารณูปโภค (แก๊ส, ไฟฟ้า, น้ำประปา) ตามที่ระบุในใบเรียกเก็บเงินที่ส่งมาจากบริษัทบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก่อนวันครบกำหนดที่ระบุไว้ โดยชำระเงินได้ที่ธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ หรือที่ทำการไปรษณีย์ นักเรียนที่พักในหอพักขอให้ปฏิบัติตามที่ครูผู้ดูแลหอพักแจ้ง ชำระเงินค่าสาธารณูปโภคส่วนที่ตัวเองใช้

มารยาทสาธารณะ

การทิ้งขยะมีความแตกต่างกันไปตามท้องที่ แต่ทุก ๆ ท้องที่มีประเภทขยะ บริเวณที่ทิ้งขยะ และวันทิ้งขยะแต่ละประเภทกำหนดไว้ การสูบบุหรี่ต้องสูบในที่ที่จัดไว้ หรือที่นอกเหนือจากที่ที่ห้ามเอาไว้เท่านั้น มารยาทสาธารณะ

การติดต่อสื่อสารในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดของโลก แม้ในเวลาปกติเราก็ควรเตรียมพร้อมรับมือกรณีฉุกเฉิน
ด้านล่างนี้คือหลักการปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่นไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว ขอให้อ่านอย่างถี่ถ้วน แล้วตั้งสติเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในทุก ๆ วัน

 

 หลักใหญ่ 3 ประการ เมื่อเกิดอัคคีภัย

  • ดับไฟที่เริ่มลุก (ให้พยายามใช้ถังดับเพลิงใกล้ ๆ หรือสายดับเพลิงในห้องดับที่พึ่งเริ่มลุก แต่หากเปลวไฟสูงถึงเพดานห้องแล้วจะไม่สามารถดับเองได้ ต้องอพยพ
  • โทร 119 (แม้แต่ไฟไหม้เล็กน้อยก็ต้องโทร 119 ทันที ระบุที่อยู่ให้ถูกต้องชัดเจนโดยไม่ตื่นตระหนก)
  • เตือนให้อพยพ (ใช้เสียงตามสายหรือตะโกนดัง ๆ บอกให้คนอื่น ๆ อพยพออกจากอาคาร ชีวิตมนุษย์สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง)

 

 หลักใหญ่ 3ประการเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

  • ดูแลความปลอดภัยของร่างกาย(เข้าไปหลบใต้โต๊ะหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ป้องกันสิ่งของตกใส่ได้ อย่างไรก็ตามต้องดูแลความปลอดภัยของร่างกายตัวเอง)
  • ดับไฟ(ดับไฟที่ใช้อยู่รอบ ๆ ทั้งหมดทันที หากเกิดเพลิงไหม้แล้วให้ทำการดับไฟในเบื้องต้น (ถังดับเพลิง, สายดับเพลิง, โทร 119))
  • เยียวยา・ช่วยเหลือ(ตรวจดูรอบ ๆ ว่าไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หากมีให้เร่งช่วยเหลือ ตะโกนดัง ๆ ถามเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของทุกคน เร่งช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ และเรียกรถพยาบาลในกรณีที่มีการบาดเจ็บใหญ่)

เข้าประเทศทันที

ของจำเป็นเวลาเข้าประเทศ (หนังสือเดินทาง, วีซ่า, จดหมายตอบรับเข้าศึกษา, เงิน, ยาประจำตัว)

 

หากค้นหาวิธีเดินทางจากสนามบินมาโรงเรียนไว้ก่อนจะทำให้การเดินทางสะดวกราบรื่นขึ้น

โปรดตรวจสอบวิธีเดินทางมาโรงเรียนจากหน้า “การเดินทาง”

> การเดินทาง

 

เฉพาะนักเรียนที่สมัครเข้าพักในหอพักของโรงเรียนเละเดินทางมาลงที่สนามบินนะริตะจะมีเจ้าหน้าที่ไปต้อนรับ (เว้นวันเสาร์อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเที่ยวบินกลางคืน) แต่นักเรียนต้องจ่ายค่าเดินทางจากสนามบินมาหอพักตามที่จ่ายจริงด้วยตัวเอง

เกี่ยวกับการเข้าเรียนและสอบถาม


PAGETOP

สอบถามข้อมูล

ปฏิทิน โรงเรียน